Thai ESCO ¸ØáԨºÃÔ¡ÒôéÒ¹¾Åѧ§Ò¹ (Energy Service Company: ESCO)

  • ประกาศผลการตรวจสอบรับรองมาตรฐานการดำเนินงานของ ESCO รายชื่อ ESCO ที่เข้าร่วมและผ่านการประเมินโครงการนำร่องฯ ประจำปี 2558 - 2559 และESCO ที่ได้รับใบรับรองการดำเนินงานของบริษัทจัดการพลังงานไทย (CoP Certificate)

  • Promotion of ESCO Business Project in Thailand "Overview og Energy Conservation Program of Thai Industries in the framework of ESCO" งาน "Thai-German Technology Conference Energy Efficiency industry"

  • คู่มือแนวทางการตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัด (M&V) แนวทางการตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัด สำหรับโครงการอนุรักษ์พลังงาน 12 มาตรการ

  • Success cases of ESCO สถานประกอบการจากภาครัฐและเอกชนที่ประสบความสำเร็จจากการใช้บริการ ESCO ที่ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ ESCO Project Awards จากงานสัมมนา Thailand ESCO Fair

  • สมาคมบริษัทจัดการพลังงานไทย สมาคมบริษัทจัดการพลังงานไทย ก่อตั้งเพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจ ESCO อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อก่อให้เกิการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกสมาคม และให้ความมั่นใจในประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ประกอบการที่จะได้รับจากการใช้บริการของ ESCO

  • แนวทางการจัดทำระบบรับรองการดำเนินงานของบริษัทจัดการพลังงานไทย (ESCO)

  • ¤é¹ËÒ¼ÙéãËéºÃÔ¡ÒÃ
    • »¯Ô·Ô¹¡Ô¨¡ÃÃÁ
  • à¢éÒÊÙèÃкºÊÁÒªÔ¡
  • µéͧ¡ÒÃÊÁѤÃÊÁÒªÔ¡ãËÁè!

    ÊÁÒ¢Ô¡à¡èÒÅ×ÁÃËÑʼèÒ¹

  •  

บทความ



 

เทคโนโลยีการบริหารการจัดการระบบเครื่องอัดอากาศให้เกิดการประหยัดพลังงานสูงสุด

คงไม่มีใครปฎิเสธได้เลยว่าต้นทุนของพลังงานในปัจจุบันมีมูลค่าสูง และยังมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้นทุนดังกล่าวได้สร้างปัญหาให้กับโรงงานอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก ปัจจุบันภาครัฐและภาคเอกชนได้มีการตื่นตัวและให้ความสำคัญเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานในทุก ๆ ด้านอย่างจริงจัง และจากนโยบายด้านการประหยัดพลังงานของรัฐบาลที่มุ้งเน้นให้ทุกหน่วยงานมีโครงการด้านการประหยัดพลังงาน โดยออกกฎหมายด้านพลังงานให้โรงงานควบคุมจัดทำแผนและเป้าหมายด้านพลังงาน อีกทั้งยังสนับสนุนให้มีหน่วยงานต่าง ๆ คอยให้คำปรึกษาและแนะนำให้กับผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรม ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวไม่เพียงแต่จะช่วยลดพลังงานให้กับประเทศ และช่วยลดภาวะโลกร้อนแล้วยังเป็นการลดต้นทุนของการผลิต ซึ่งสร้างโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจอีกด้วย

พลังงานลมอัดถือได้ว่าเป็นพลังงานที่สำคัญ และมีการใช้งานอย่างต่อเนื่องในอุตสาหกรรมเกือบทุกประเภท แต่ทั้งนี้พลังงานลมอัดเป็นพลังงานที่มีต้นทุนการผลิตสูง มีผู้ใช้จำนวนมากไม่ทราบว่าค่าพลังงานต่อปริมาณลมที่ใช้ที่ค่าเป็นเท่าไร ซึ่งไม่เหมือนกับค่าน้ำ, ค่าไฟฟ้า, ค่าน้ำมัน หรือค่าแก็ส


เครื่องมือตรวจวัดเฉพาะทาง

วิศวกรทำการตรวจวัด

โปรแกรมวิเคราะห์ระบบอากาศ

 

เนื่องจากส่วนใหญ่ในระบบลมอัดไม่มีการติดตั้งมาตรวัดลมเทียบกับค่าไฟฟ้าที่จ่ายนั้นเอง นอกจากนี้การใช้พลังงานลมอัดของแต่ละอุตสาหกรรม ก็มีความแตกต่างกันไป ไม่มีระบบที่แน่นอน ทำให้การวางแผนที่จะบริหารจัดการและปรับปรุงระบบอากาศอัดเป็นไปได้ยาก ดังนั้นการวางแผนที่จะปรับปรุงระบบอากาศอัดให้มีประสิทธิภาพ และเกิดพลังงานสูงสุด จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการตรวจวัด เก็บข้อมูลและนำผลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อให้ทราบถึง พฤติกรรมการใช้พลังงานของระบบอัดอากาศ เพื่อหาแนวทางการปรับปรุงระบบ โดยมีแนวทางที่ชัดเจน และสามารถดำเนินการได้จริง โดยยังคงดำเนินตามนโยบายการประหยัดพลังงานและไม่ส่งผลกระทบต่อระบบอากาศอัดที่ใช้งานอยู่ หรืออาจกล่าวได้ว่า ระบบยังคงมีเสถียรภาพที่ดีต่อไป

ในการตรวจวัดและวิเคราะห์ระบบอากาศอัด จึงจำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน ประกอบกับเครื่องมือที่มีเทคโนโลยีทันสมัยและถูกออกแบบมาเพื่อใช้ตรวจวัดและวิเคาะห์ระบบอากาศอัดโดยเฉพาะมาทำการตรวจวัด ทั้งนี้เพื่อที่จะนำข้อมูลที่ได้มาใช้งานเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่พบได้จริง

 


รายงานการวิเคราะห์จากการตรวจวัด

ข้อมูลสำคัญในระบบอากาศอัดและผลที่ได้จาการตรวจวัด

1. ประเมินข้อมูลของเครื่องอัดอากาศในระบบ
• ค่าพลังงานที่ใช้ (KW)
• อัตราการไหลของลมอัด (m3/min)
2. ประเมินข้อมูลของระบบอากาศอัดโดยรวม
• ค่าแรงดันที่ใช้งานอยู่ในระบบ (bar)
• เปอร์เซ็นต์การใช้ของเครื่องอัดอากาศอย่างเหมาะสม(%)
3. พฤติกรรมการเดินของเครื่องอัดอากาศ
• อัตราการทำงานของเครื่องอัดอากาศ (%)
• อัตราการผลิตลมของเครื่องอากาศอัด (%)
• อัตราการเดินตัวเปล่าของเครื่องอากาศอัด (%)
4. สรุปผลข้อมูลเชิงวิเคราะห์ของระบบอากาศอัด
• ค่าพลังงานรวมที่ใช้ในระบบอากาศอัด (Kwh)
• ปริมาณของลมที่ใช้ในระบบ (m3)

• อัตราการใช้พลังงานเพื่อนำไปผลิตอากาศอัด (%)
• อัตราการสูญเสียพลังงานในการเดินเครื่องตัวเปล่า (%)
• ประสิทธิภาพของระบบอากาศอัด (Kw/m3/min)
• ต้นทุนของการผลิตอากาศอัด (THB/m3)
• ต้นทุนรวมของการผลิตอากาศอัด (THB)
5. ข้อแนะนำและแนวทางการบริหารจัดการระบบอากาศอัด
• การลดการเดินเครื่องตัวเปล่าโดยไม่ได้อัดอากาศ
• การลดต้นทุนผลิตต่อหน่วยของพลังงานอากาศอัด
• การลดการสูญเสียจากการรั่วในระบบ
• การลดแรงดันที่สูงเกินความจำเป็น
• การลดย่านแรงดันควบคุม

 

ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ดังกล่าวเราสามารถทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบอากาศอัด อาทิเช่น การปรับตั้งค่าของเครื่องอัดอากาศไม่เหมาะสม ย่านแรงดันควบคุมที่กว้างเป็นต้น ปัญหาเหล่านี้เองเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการใช้ค่าพลังงานไปอย่างไม่เหมาะสม

ปัจจุบันได้มีเทคโนยี เพื่อเข้ามาจัดการบริหาร ควบคุม เครื่องอัดอากาศให้มีประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด ควบคุมการใช้พลังงงานให้เหมาะสมกับความต้องการการใช้อากาศอัด ซึ่งเทคโยโลยีดังกล่าวเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ถูกพัฒนามาจากโรงงานผู้ผลิต ชุดควบคุมเครื่องอัดอากาศ และติดตั้งให้กับเครื่องอัดอากาศชั้นนำหลายยี่ห้อ (OEM) โดยได้นำข้อบกพร่องต่าง ๆ มาพัฒนา เพื่อมุ่งเน้นในการหาแนวทางการประหยัดพลังงาน โดยไม่กระทบต่อกระบวนการผลิต

 


ระบบควบคุมการทำงานของระบบอากาศอัด
Software management ENERSOFT VISUALISATION
คุณสมบัติ
- ควบคุมการทำงานของเครื่องอัดอากาศได้ทุกยี่ห้อ
- ควบคุมการทำงานของเครื่องอัดอากาศที่มีอยู่ในระบบให้ทำงานอย่างเหมาะสมกับ ความต้องการใช้ลมจริง
- ลดย่านแรงดันที่กว้างให้แคบลงด้วยเทคโนโลยี One touch & Single Pressure Band Wide ซึ่งส่งผลให้สามารถลดแรงดันในระบบลงได้
- ลดปัญหาการสูญเสียเนื่องจากลมรั่ว
- มีซอฟแวร์เพื่อแสดงสถานะต่าง ๆ ในระบบ อาทิเช่น แรงดันของระบบ, สภาวะของเครื่องอากาศแต่ละตัวในระบบ, ประสิทธิภาพของระบบ และซอฟแวร์ยังสามารถนำสัญญานจากอุปกรณ์ต่างๆจากภายนอกเช่น flow sensor, kw meter, Pressure sensor, Dew point sensor เข้ามาเชื่อมต่อเพื่อแสดงค่าและเก็บบันทึกค่าได้ และยังมีฟังก์ชั่นที่สามารถจะบอกให้ทราบถึงชั่วโมงการทำงานของ
อุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบ เช่น เครื่องอัดอากาศ, ชุดกรองอากาศ, เพื่อง่ายต่อการบำรุงรักษา
- สามารถเชื่อมต่อกับระบบ Computer Net Work Ethernet หรือ ส่งสัญญาน Remote ผ่าน RS485 Network และยังสามารถดูค่าโดยการเชื่อมต่อผ่าน Modem จึงทำให้สามารถตรวจสอบระบบอากาศอัดจากทุกที่ในโลกได้อย่างไร้พรมแดน
- สามารถควบคุมการทำงานเครื่องอัดอากาศที่ติดตั้งระบบปรับความเร็วรอบมอเตอร์ (VFD) ได้
- สามารถควบคุมเครื่องอัดอากาศได้สูงสุด 24 เครื่องใน 1 ระบบ
- มีฟังก์ชั่นหลากหลายเพื่อรองรับความต้องการที่แตกต่างในแต่ละอุตสาหกรรม

ตัวอย่างการดำเนินการตรวจวัดระบบอากาศอัด

DENSO (Thailand) Co., Ltd
โรงงานเดนโซ่ ประเทศไทย มีการใช้เครื่องอัดอากาศอยู่ทั้งหมดจำนวน 6 เครื่อง เป็นเครื่องที่มีขนาด 75 kw จำนวน 4 เครื่องและขนาด 150 kw จำนวน 2 เครื่อง มีการทำงานต่อเนื่อง 24 ชั่งโมง ผลที่ได้รับจากการตรวจวัดแสดงดังรูปด้านล่าง

ก่อนทำการปรับปรุงระบบ

รูปแสดงแรงดันของระบบเทียบกับสภาวะการทำงาน
ของเครื่องอัดอากาศก่อนการปรับปรุง

ตาราง KPI ที่ได้จากการตรวจวัดและวิเคราะห์ ก่อนการปรับปรุงระบบ
             จากรูปทางด้านซ้ายจะเห็นว่าแรงดันที่ใช้ในงานในระบบมีย่านแรงดันที่กว้าง ค่าแรงดันสูงสุด 6.14 bar และค่าแรงดันต่ำสุด 4.9 bar ซึ่งยังสามารถทำงานไปปรกติโดยไม่มีผลกระทบต่อสายการผลิตและพฤติกรรมการทำงานของเครื่องอัดอากาศไม่มีการจัดการที่ดีพอ ส่งผลทำให้แรงดันมีย่านแรงดันกว้าง ตารางทางด้านซ้ายแสดงให้เห็น ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการตรวจวัด ซึ่งจะเห็นว่าต้นทุนของการผลิตอากาศอัดอยู่ที่ 0.37 บาท /ลูกบาตเมตร ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า สาเหตุหลักของการสูญเสียพลังงานคือการจัดการอากาศอัดไม่ดีพอ
ก่อนทำการปรับปรุงระบบ

รูปแสดงแรงดันของระบบเทียบกับสภาวะการทำงาน
ของเครื่องอัดอากาศก่อนการปรับปรุง

ตาราง KPI ที่ได้จากการตรวจวัดและวิเคราะห์
หลังจากการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุม

หลังจากได้มีการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของระบบอากาศอัด ได้ทำการตรวจวัดผลเพื่อพิสูจน์ ซึ่งผลที่ได้จากรูปทางด้านซ้ายจะเห็นว่ากราฟของแรงดันเรียบขึ้น กล่าวคือมีย่านของแรงดันที่แคบลง จึงทำให้สามารถลดแรงดันของระบบให้ใกล้เคียงกับแรงดันที่ต้องการใช้งานจริง และอุปกรณ์ควบคุมยังสั่งงานให้เครื่องอัดอากาศที่มีขนาดใหญ่ทำงานเป็นตัวหลัก เพื่อลดการสูญเสียของการเดินเครื่องตัวเปล่า และจากตาราง KPI จะเห็นว่าต้นทุนของอากาศอัดลดลงเหลือเพียง 0.31 บาท/ลูกบาตเมตร ซึงสามารถคำนวนผลประหยัด จากการปรับปรุงระบบออกมาเป็นมูลค่าใด้ผลประหยัดได้ถึง 2.08 ล้านบาทต่อปี

จากตัวอย่างข้างต้นเป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างที่แสดงให้เห็นประสิทธิภาพการทำงานของระบบควบคุมอัจฉริยะที่สามารถพิสูจน์ได้จริง และยังมีโรงงานอุตสาหกรรมอีกหลายแห่งที่ทำการติดตั้งระบบควบคุมและประสบความสำเร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

หากท่านสนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ บริษัทการจัดการอากาศอัด จำกัด

ที่อยู่ 1/38 ซอยสุภาพงษ์ 3 แยก 8 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร 10250
โทร.02-330-9164 โทรสาร. 02-330-9165


<<Back