Thai ESCO ¸ØáԨºÃÔ¡ÒôéÒ¹¾Åѧ§Ò¹ (Energy Service Company: ESCO)

  • ประกาศผลการตรวจสอบรับรองมาตรฐานการดำเนินงานของ ESCO รายชื่อ ESCO ที่เข้าร่วมและผ่านการประเมินโครงการนำร่องฯ ประจำปี 2558 - 2559 และESCO ที่ได้รับใบรับรองการดำเนินงานของบริษัทจัดการพลังงานไทย (CoP Certificate)

  • Promotion of ESCO Business Project in Thailand "Overview og Energy Conservation Program of Thai Industries in the framework of ESCO" งาน "Thai-German Technology Conference Energy Efficiency industry"

  • คู่มือแนวทางการตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัด (M&V) แนวทางการตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัด สำหรับโครงการอนุรักษ์พลังงาน 12 มาตรการ

  • Success cases of ESCO สถานประกอบการจากภาครัฐและเอกชนที่ประสบความสำเร็จจากการใช้บริการ ESCO ที่ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ ESCO Project Awards จากงานสัมมนา Thailand ESCO Fair

  • สมาคมบริษัทจัดการพลังงานไทย สมาคมบริษัทจัดการพลังงานไทย ก่อตั้งเพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจ ESCO อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อก่อให้เกิการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกสมาคม และให้ความมั่นใจในประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ประกอบการที่จะได้รับจากการใช้บริการของ ESCO

  • แนวทางการจัดทำระบบรับรองการดำเนินงานของบริษัทจัดการพลังงานไทย (ESCO)

  • ¤é¹ËÒ¼ÙéãËéºÃÔ¡ÒÃ
    • »¯Ô·Ô¹¡Ô¨¡ÃÃÁ
  • à¢éÒÊÙèÃкºÊÁÒªÔ¡
  • µéͧ¡ÒÃÊÁѤÃÊÁÒªÔ¡ãËÁè!

    ÊÁÒ¢Ô¡à¡èÒÅ×ÁÃËÑʼèÒ¹

  •  

ประวัติความเป็นมา



      ปีพุทธศักราช 2542 ด้วยความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาลไทย (กระทรวงพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย) และต่างประเทศ (ธนาคารโลก) ที่ประสงค์จะให้ส่งเสริมธุรกิจ ESCO ซึ่งเป็นธุรกิจใหม่ ให้เป็นที่ยอมรับ และเกิดการขยายตัวมากขึ้นในประเทศไทย โดยกระตุ้นให้ผู้ประกอบการ ทั้งในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม และอาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ที่ต้องการลงทุนในโครงการพลังงานเกิดความเชื่อมั่นและไว้วางใจใน ESCO จึงได้เกิดโครงการนำร่องบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO Pilot Project) และขยายผลการพัฒนาบริษัท ESCO อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมี ESCO ที่ขึ้นทะเบียนกับสถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรมอยู่ทั้งสิ้น 46 ราย

         ปีพุทธศักราช 2546 กระทรวงพลังงานได้กำหนดให้โครงการส่งเสริมธุรกิจบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO) เป็นกลยุทธ์หลักที่สำคัญในการผลักดันให้เกิดการใช้พลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพของประเทศไทยในแผนยุทธศาสตร์การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ 20 ปี และได้กำหนดให้มีการจัดตังกองทุน ESCO Fund เพื่อใช้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนให้มีการใช้บริษัทจัดการการพลังงาน ในภาคอุตสาหรรมและอาคารพาณิชย์อย่างกว้างขวาง

         ปีพุทธศักราช 2555 ผู้ก่อตั้งสมาคมได้ยื่นจดทะเบียนจัดตั้ง “สมาคมบริษัทจัดการพลังงานไทย” ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มกันระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจ ESCO อย่างเป็นรูปธรรม ก่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกสมาคมและสามารถสร้างความเข้มแข็งในการดูแลตัวอย่าง ยั่นยืนในระยะยาว

คณะกรรมการสมาคม

  1. นายอรรถพร โรจนารักษ์ นายกสมาคม
  2. นายอาทิตย์ เวชกิจ ที่ปรึกษานายกสมาคม
  3. นายรวิวัฒน์ พนาสันติภาพ อุปนายก
  4. นายชาญชัย กฤตพรตพิศุทธิ์ เหรัญญิก
  5. ดร.การุณ สิทธิฤทธิ์ เลขาธิการ
  6. นายทินกร มโนประเสริฐ ปฏิคม
  7. นายนิเพท โตวิริยะเวช นายทะเบียน
  8. นางประไพ บุญศรีโรจน์ ประชาสัมพันธ์
  9. นายปรีชา ปรีดาวิจิตร กรรมการ
  10. นายธีรธัช จันทร์บาง กรรมการ
  11 นายกรัณย์ รักเจริญ กรรมการ

 

เบอร์ติดต่อสมาคมบริษัทจัดการพลังงานไทย

คุณศิริโสภา โยธาศิริ

โทรศัพท์ : 0-2100-3348 

Email : association@thaiesco.org

วัตถุประสงค์ 
 

1. ส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจประเภทที่เกี่ยวกับธุรกิจบริการจัดการพลังงาน
2. สนับสนุนและช่วยเหลือสมาชิก แก้ไขข้อขัดข้องต่าง ๆ รวมทั้งเจรจาทำความตกลงกับบุคคลภายนอก เพื่อเป็นประโยชน์ร่วมกันในการประกอบวิสาหกิจของสมาชิก สอดส่องและติดตามความเลื่อนไหวของธุรกิจบริการจัดการพลังงาน ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เพื่ออำนวยประโยชน์แก่การประกอบธุรกิจการค้าอุตสาหกรรม การเงิน เศรษฐกิจ หรือความมั่นคงของประเทศ
3. การทำวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิสาหกิจประเภทที่อยู่ในวัตถุประสงค์แลกเปลี่ยน และเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ ตลอดจนข่าวสารการค้าอันเกี่ยวกับวิสาหกิจนั้น ๆ
4. ขอสถิติ หรือ เอกสาร หรือขอทราบข้อความใด ๆ จากสมาชิกเกี่ยวกับการประกอบวิสาหกิจประเภทที่อยู่ในวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ด้วยความยินยอมของสมาชิก
5. ส่งเสริมคุณภาพบริการ โดยผู้ประกอบวิสาหกิจที่เป็นสมาชิกให้เข้าสู่มาตรฐานที่ดี ตลอดจนวิจัยและปรับปรุงการให้บริการ ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
6. ร่วมมือกับรัฐบาลในการส่งเสริมการค้า อุตสาหกรรม การเงิน หรือธุรกิจอื่นใดในทางเศรษฐกิจ อันอยู่ในวัตถุประสงค์
7. ส่งเสริมการให้บริการให้มีปริมาณเพียงพอแก่ความต้องการของตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ
8. ทำความตกลงหรือวางระเบียบให้สมาชิกปฏิบัติ หรืองดเว้นการปฏิบัติ เพื่อให้การประกอบวิสาหกิจของสมาชิกได้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย
9. ส่งเสริมอนามัย กีฬา และจัดงานบันเทิงเป็นครั้งคราว
10. ประนีประนอมข้อพิพาทระหว่างสมาชิก หรือระหว่างสมาชิกกับบุคคลภายนอกในการประกอบวิสาหกิจ

 

วิสัยทัศน์และพันธกิจ
 

1. เป็นแหล่งฐานข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในโครงการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนภายใต้รูปแบบบริการ ESCO ของประเทศไทย
2. เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน และแนวทางการนำเทคโนโลยีนั้น ๆ ไปใช้อย่างเหมาะสม
3. ให้ความมั่นใจในประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ประกอบการที่จะได้รับจากการใช้บริการ ESCO ในการดำเนินโครงการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน
4. มองหาโอกาสเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผลประโยชน์ที่ได้จากการลงทุนในโครงการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน และความสำเร็จของโครงการอนุรักษ์และพลังงานทดแทนภายใต้รูปแบบบริการ ESCO
5. สอดส่องและติดตามความเคลื่อนไหวของธุรกิจบริการจัดการพลังงาน ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เพื่ออำนวยประโยชน์แก่การประกอบธุรกิจการค้าอุตสาหกรรม การเงิน เศรษฐกิจ หรือความมั่นคงของประเทศ
6. สนับสนุน “แผนงานการรับรอง ESCO ที่มีคุณภาพอย่างจริงจัง
7. เป็นผู้กระตุ้นให้เกิดแนวทางในการดำเนินธุรกิจที่ดีสำหรับภาคอุตสากรรม ESCO
8. ส่งเสริมการให้บริการให้มีปริมาณเพียงพอแก่ความต้องการของตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ
9. มีส่วนร่วมในการออกกฎหมาย ข้อบังคับและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่จะส่งผลต่อนโยบายด้านพลังงาน