Thai ESCO ¸ØáԨºÃÔ¡ÒôéÒ¹¾Åѧ§Ò¹ (Energy Service Company: ESCO)

  • ประกาศผลการตรวจสอบรับรองมาตรฐานการดำเนินงานของ ESCO รายชื่อ ESCO ที่เข้าร่วมและผ่านการประเมินโครงการนำร่องฯ ประจำปี 2558 - 2559 และESCO ที่ได้รับใบรับรองการดำเนินงานของบริษัทจัดการพลังงานไทย (CoP Certificate)

  • Promotion of ESCO Business Project in Thailand "Overview og Energy Conservation Program of Thai Industries in the framework of ESCO" งาน "Thai-German Technology Conference Energy Efficiency industry"

  • คู่มือแนวทางการตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัด (M&V) แนวทางการตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัด สำหรับโครงการอนุรักษ์พลังงาน 12 มาตรการ

  • Success cases of ESCO สถานประกอบการจากภาครัฐและเอกชนที่ประสบความสำเร็จจากการใช้บริการ ESCO ที่ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ ESCO Project Awards จากงานสัมมนา Thailand ESCO Fair

  • สมาคมบริษัทจัดการพลังงานไทย สมาคมบริษัทจัดการพลังงานไทย ก่อตั้งเพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจ ESCO อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อก่อให้เกิการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกสมาคม และให้ความมั่นใจในประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ประกอบการที่จะได้รับจากการใช้บริการของ ESCO

  • แนวทางการจัดทำระบบรับรองการดำเนินงานของบริษัทจัดการพลังงานไทย (ESCO)

  • ¤é¹ËÒ¼ÙéãËéºÃÔ¡ÒÃ
    • »¯Ô·Ô¹¡Ô¨¡ÃÃÁ
  • à¢éÒÊÙèÃкºÊÁÒªÔ¡
  • µéͧ¡ÒÃÊÁѤÃÊÁÒªÔ¡ãËÁè!

    ÊÁÒ¢Ô¡à¡èÒÅ×ÁÃËÑʼèÒ¹

  •  

แนวทางการขึ้นทะเบียน



แนวทางการขึ้นทะเบียนเป็นบริษัทจัดการพลังงาน

ปัจจุบันมีหลายบริษัทที่ต้องการแสดงตนเป็นบริษัทจัดการพลังงาน โดยต้องการให้มีสถาบันหรือหน่วยงานที่เป็นที่ยอมรับมาเป็นผู้รับรองให้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับสถานประกอบการรวมไปถึง สถาบันการเงิน และแหล่งเงินทุนต่าง ๆ สำหรับผู้ที่สมัครเป็นสมาชิกบริษัทจัดการพลังงาน ซึ่งจะพิจารณาความเป็นไปได้และความเหมาะสมต่างๆ สำหรับการดำเนินการขึ้นทะเบียน โดยจะมีการทำ “บันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านอนุรักษ์พลังงานโดยใช้ระบบ ESCO”

 
1. คุณสมบัติของผู้ยื่นขอขึ้นทะเบียน

          1.1 นิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายไทย ที่จดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในการประกอบธุรกิจการออกแบบ พัฒนา และให้บริการเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกด้านวิศวกรรมและการบริหาร ซึ่งรวมถึงงานวิศวกรรม การจัดการโครงการ การจัดการด้านพลังงาน การบริหารการปฏิบัติการ การดูแลขั้นพื้นฐาน และการให้บริการตามสถานที่ต่างๆ เกี่ยวกับและดำเนินการอื่นใดเกี่ยวกับกลุ่มและประเภทต่างๆ ทั้งหลายของเครื่องใช้ เครื่องมือ เครื่องจักร เครื่องประกอบ สิ่งประดิษฐ์และชิ้นส่วนของเครื่องมือเครื่องใช้ของการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน ซึ่งหนังสือจดทะเบียนนิติบุคคลออกโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าไม่เกิน 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่ยื่นขอขึ้นทะเบียนกับสถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

          1.2 ผู้ยื่นขอขึ้นทะเบียนเป็นบริษัทจัดการพลังงานจะต้องสมัครเป็นสมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยก่อน ซึ่งสามารถสมัครสมาชิกได้ที่ http://www.fti.or.th/2016/thai/ftiregister.aspx และรวบรวมจัดทำเอกสารการยื่นขอขึ้นทะเบียนตามรายละเอียดด้านล่างพร้อมแนบหลักฐานแสดงการชำระเงินค่าบำรุงสมาชิกของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

         
2. เกณฑ์และเอกสารหลักฐานที่ใช้ในการยื่นขอขึ้นทะเบียนเป็นบริษัทจัดการพลังงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้
ที่
หัวข้อ
คำอธิบาย/รายละเอียดของเอกสาร
1
หนังสือแสดงความประสงค์ยื่นขอขึ้นทะเบียนเป็นบริษัทจัดการพลังงาน

เป็นเอกสารที่บริษัทต้องการยื่นขอขึ้นทะเบียน เป็น ESCO จัดทำขึ้นมาเองตามรูปแบบของบริษัท โดยเป็นหนังสือแสดงความประสงค์เข้าร่วมเป็นบริษัทที่ให้การบริการด้านการอนุรักษ์พลังงานโดยใช้ระบบบริษัทจัดการพลังงาน(ESCO) ถึงสถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม

2

เอกสารการสมัครสมาชิกประเภทผู้ให้บริการจากเว็บไซต์ thaiesco.org

เป็นเอกสารที่บริษัทฯ ได้ดำเนินการสมัครสมาชิกประเภทผู้ให้บริการ หลังจากผ่านการทำแบบคัดกรองคุณสมบัติการดำเนินธุรกิจบริษัทจัดการพลังงานเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว โดยสมัครสมาชิกประเภทผู้ให้บริการได้ที่https://www.thaiesco.org/thai/register_person.aspx และสามารถเข้าศึกษารายละเอียดการทำแบบทดสอบและการสมัครสมาชิกผู้ให้บริการตามคู่มือแนวทางการขึ้นทะเบียน ESCO ด้านล่าง

3
ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท
3.1 ข้อมูลเบื้องต้นของบริษัท

แสดงรายละเอียดข้อมูลชื่อบริษัท ชื่อย่อ ที่ตั้ง โทรศัพท์ โทรสาร อีเมล์ เว็บไซต์ ที่สามารถติดต่อได้ รวมถึงชื่อผู้บริหาร (กรรมการผู้จัดการ/ประธานกรรมการ) และชื่อผู้ประสานงาน

3.2 รูปถ่ายบริษัท และแผนที่บริษัท

แสดงรูปถ่ายบริษัทจริง และแผนที่ที่เห็นชัดเจน

3.3 ข้อมูลการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ปีที่ก่อตั้งบริษัท ประกอบด้วย

 

บริษัทต้องมีการดำเนินธุรกิจตามการจดทะเบียนนิติบุคคลตามข้อ 1.1 มาแล้วอย่างน้อย 3 ปี (โดยต้องมีวัตถุประสงค์ของบริษัทเป็นไปตามข้อ 1 คุณสมบัติของผู้ยื่นขอขึ้นทะเบียน)

เอกสารที่ต้องเตรียมประกอบด้วย

- หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท (ย้อนหลังไม่เกิน 3 เดือน นับจากวันที่ยื่นขอขึ้นทะเบียน) จำนวน 1 ชุด

- สำเนาหนังสือบริคณสนธิจำนวน 1 ชุด
- สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นจำนวน 1 ชุด

- สำเนางบแสดงสถานะการเงินย้อนหลัง 2 ปี จำนวน 1 ชุด

3.4 สำเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจลงนาม MOU และสำเนาบัตรประชาชนพยานที่ร่วมลงนาม MOU อย่างละ 1 ชุด

พร้อมลงนามสำเนาถูกต้อง เพื่อใช้เป็นเอกสารในการลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือฯ ระหว่างบริษัทที่ผ่านการพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นบริษัทจัดการพลังงานกับสถาบันพลังงานฯ

- สำหรับผู้มีอำนาจลงนาม หมายถึง กรรมการผู้จัดการ ประธานกรรมการ แต่หากไม่ใช่ผู้บริหารดังที่กล่าวมาข้างต้น จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากกรรมการผู้จัดการหรือประธานกรรมการให้เป็นผู้ลงนามแทน รวมถึงพยานที่ร่วมลงนามสามารถเป็นตำแหน่งใดก็ได้ แต่ต้องเป็นบุคลากรในบริษัท

 
 

3.5 ข้อมูลทางด้านความชำนาญ/ความเชี่ยวชาญ (Specialization) การให้บริการ (Service) หรือผลิตภัณฑ์ของบริษัท

Company Profile หรือ Brochure ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท หรือเอกสารด้านความเชี่ยวชาญของบริษัท

3.6 ข้อมูลประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์พลังงาน ที่ดำเนินการให้แก่สถานประกอบการ

บริษัทต้องมีประสบการณ์หรือผลงานในการดำเนินโครงการอนุรักษ์พลังงานและ/หรือพลังงานทดแทน โดยมีการจัดทำ Energy Audit การจัดหาอุปกรณ์ หรือมีการดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์แล้วเสร็จอย่างน้อย 5 โครงการ โดยบริษัทต้องแสดงรายละเอียดในการดำเนินโครงการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งมีข้อมูลของสถานประกอบการ มาตรการอนุรักษ์พลังงาน การทำ Energy Audit การจัดหาหรือติดตั้งอุปกรณ์

3.7 ข้อมูลบุคลากรที่มีชื่ออยู่ในบริษัทเท่านั้น(แนบรายละเอียดประวัติบุคลากร)และสำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ใบ กว.)

- ต้องมีบุคลากรประจำอย่างน้อย 1 คน ที่มีประสบการณ์ด้านการอนุรักษ์พลังงานอย่างน้อย 5 ปี และผ่านการดำเนินงานโครงการด้านอนุรักษ์พลังงานไม่น้อยกว่า 5 โครงการ

- คุณภาพของบุคลากร บริษัทจะต้องมีบุคลากรประจำในองค์กร ซึ่งเป็นผู้ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ใบ กว.) ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับมาตรการอนุรักษ์พลังงานที่บริษัทให้บริการ ได้แก่ สาขาไฟฟ้า เครื่องกล โยธา สิ่งแวดล้อม และพลังงาน เป็นต้น ซึ่งทำงานเต็มเวลาอย่างน้อย 1 คน ประจำอยู่ในองค์กร

4
 

ข้อมูลของโครงการอ้างอิงที่ดำเนินการให้แก่สถานประกอบการในรูปแบบ ESCOอย่างน้อย 1 แห่ง (สำหรับการยื่นขอขึ้นทะเบียนจะพิจารณาตามจำนวนสัญญาพลังงาน คือ 1 สัญญาต่อ 1 โครงการ)

4.1 ข้อมูลสถานประกอบการ (ผู้ว่าจ้าง)

ประกอบด้วยชื่อบริษัทผู้ว่าจ้าง สถานที่ รูปถ่ายบริษัท โทรศัพท์ โทรสาร อีเมล์ เว็บไซต์ ชื่อผู้ประสานงานในส่วนของผู้ว่าจ้างที่สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ และต้องระบุผู้ประสานงานของสถานประกอบการอย่างน้อย 2 คน

4.2 ข้อมูลโครงการอนุรักษ์พลังงานที่ดำเนินการให้แก่สถานประกอบการ

บริษัทจะต้องมีการดำเนินการโครงการอนุรักษ์พลังงานให้แก่สถานประกอบการในรูปแบบ ESCO โดยมีสัญญาพลังงาน (Energy Performance Contract: EPC) อย่างน้อย 1 โครงการ โดยมูลค่าการลงทุนจะต้องไม่ต่ำกว่า 500,000 บาทต่อโครงการ ซึ่งต้องมีการตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัดพร้อมรายงานผลอย่างชัดเจนและเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา โดยจะต้องเป็นโครงการที่ดำเนินงานแล้วเสร็จย้อนหลังไม่เกิน 3 ปี ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จไม่น้อยกว่า 6 เดือน และมีการแสดงรายละเอียดโครงการให้ครบถ้วน ประกอบด้วย

4.2.1 ชื่อโครงการ มาตรการอนุรักษ์พลังงานที่ดำเนินการ อุปกรณ์หรือเทคโนโลยีพลังงานที่ใช้

4.2.2 ต้องแสดงความเป็นมาหรือเหตุผลของการเลือกมาตรการอนุรักษ์พลังงานที่จะดำเนินการ โดยอ้างอิงจากข้อมูลกระบวนการผลิตและการใช้พลังงาน

4.2.3 ต้องอธิบายหลักการทำงานของมาตรการอนุรักษ์พลังงานที่ทำให้เกิดผลประหยัด

4.2.4 ต้องแสดงสิ่งที่จะต้องระมัดระวัง รวมทั้งปัจจัยความเสี่ยงต่างๆที่อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อกระบวนการผลิต หรือผลประหยัดพลังงาน

 

4.3 รายงานผลการดำเนินโครงการที่แสดงผลการการดำเนินการทั้งหมด (Proposal)

 
 
โดยแสดงวิธีการคำนวณต่างๆ ประกอบด้วย
4.3.1 วันที่เริ่มต้น วันที่สิ้นสุดโครงการ

4.3.2 มูลค่าโครงการทั้งหมด (หน่วยเป็นบาท) ผลประหยัดที่ได้รับ (หน่วยเป็นด้านพลังงาน)

**หมายเหตุ: มูลค่าของโครงการที่ใช้ยื่นขอขึ้นทะเบียนไม่ต่ำกว่า 500,000 บาทต่อโครงการ

4.3.3 ผลประหยัดที่ได้รับ (หน่วยเป็นบาท) และระยะเวลาคืนทุน (ปี)

4.3.4 มูลค่าการจ้างที่ปรึกษา (มูลค่าที่ที่ปรึกษาได้รับการจ้าง) หน่วยเป็นบาท

4.3.5 การวิเคราะห์ผลประหยัดจากมาตรการอนุรักษ์พลังงาน

นอกจากนี้ ต้องแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้

4.3.6 ต้องแสดงแผนผังและคำอธิบายการทำงานและลักษณะการใช้พลังงานของกระบวนการผลิตหรือเครื่องจักรอุปกรณ์ที่มีศักยภาพในการดำเนินโครงการ

4.3.7 ต้องแสดงข้อมูลการตรวจวัดการใช้พลังงานของกระบวนการผลิตหรือเครื่องจักรอุปกรณ์ที่มีศักยภาพในการดำเนินโครงการครอบคลุม

1) ประเภทพลังงานที่ใช้
2) ปริมาณพลังงานที่ใช้
3) ชั่วโมงการทำงาน

4) ปัจจัยการทำงานที่มีผลต่อการใช้พลังงาน ได้แก่ สภาวะการใช้งาน สภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิอากาศ ความส่องสว่าง เป็นต้น

5) ราคาค่าพลังงาน

4.3.8 ต้องแสดงรายละเอียดข้อมูลประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ในมาตรการอนุรักษ์พลังงานที่จะใช้ในการคำนวณผลประหยัดพลังงาน

4.3.9 ต้องแสดงสูตรและรายละเอียดการคำนวณผลประหยัดจากมาตรการอนุรักษ์พลังงาน ประกอบด้วย

1) การคำนวณปริมาณการใช้พลังงานฐานก่อนปรับปรุง
2) การคำนวณปริมาณการใช้พลังงานหลังปรับปรุง
3) การคำนวณปริมาณพลังงานที่ประหยัดได้
4) การคำนวณผลประหยัดพลังงาน

4.3.10 ต้องแสดงข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณปริมาณการใช้พลังงานฐาน ประกอบด้วย

1) ข้อมูลการตรวจวัดการใช้พลังงานที่ใช้ในคำนวณปริมาณการใช้พลังงานฐาน
2) ชั่วโมงการทำงานของเครื่องจักร
อุปกรณ์

3) ปัจจัยการทำงานที่มีผลต่อการใช้พลังงานฐาน ได้แก่ สภาวะการใช้งาน สภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิอากาศ ความส่องสว่าง เป็นต้น

4) ราคาค่าพลังงานปีฐาน

4.3.11 ต้องแสดงข้อมูลจากการประเมินที่ใช้ในการคำนวณปริมาณการใช้พลังงานหลังปรับปรุงพร้อมระบุสมมติฐานที่ใช้ให้ชัดเจน ประกอบด้วย

1) ข้อมูลประเมินปริมาณการใช้พลังงานหลังปรับปรุง
2) ข้อมูลประเมินชั่วโมงการทำงานของเครื่องจักรอุปกรณ์

3) ข้อมูลประเมินปัจจัยการทำงานที่มีผลต่อการใช้พลังงานฐาน ได้แก่ สภาวะการใช้งาน สภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิอากาศ ความส่องสว่าง เป็นต้น

     4) ราคาค่าพลังงานที่ประเมิน
 

4.4 สำเนาสัญญาพลังงาน*(Energy Performance Contract: EPC) ในโครงการหรือมาตรการที่ดำเนินการให้กับสถานประกอบการทางด้านการอนุรักษ์พลังงานอย่างน้อย 1 แห่ง โดยต้องดำเนินการแล้วเสร็จอย่างน้อย 3 เดือน

 

คลิกที่นี่เพื่อศึกษาตัวอย่างสัญญาพลังงาน

ในสัญญาพลังงานจะต้องมีรายละเอียดครอบคลุมดังนี้

4.4.1 ต้องเป็นสัญญาที่ทำขึ้นอย่างถูกต้องมีผลบังคับใช้ได้ตามกฎหมายไทย โดยในสัญญาพลังงานที่เป็นการดำเนินงานรูปแบบ ESCO

4.4.2 ต้องระบุรูปแบบสัญญาให้ชัดเจนว่าเป็นสัญญารับประกันผลประหยัดพลังงาน (Guaranteed Saving) หรือรูปแบบสัญญาแบ่งปันผลประหยัด (Shared Saving) หรือสัญญารูปแบบอื่นๆ เช่น การประกันค่าพลังงาน (Guaranteed Rebate/Chauffage) เป็นต้น

4.4.3 ต้องระบุวัตถุประสงค์ของสัญญาให้ชัดเจนว่าเป็นการดำเนินโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และ/หรือโครงการพลังงานทดแทน และ/หรือเป็นโครงการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานอื่นๆ

4.4.4 ต้องระบุชื่อ ที่อยู่ติดต่อ และผู้มีอำนาจลงนาม ของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ทั้งฝ่ายผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง พร้อมวันที่ที่สัญญามีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย

4.4.5 ต้องแสดงความหมายและอธิบายคำจำกัดความ คำนิยาม และคำเฉพาะต่างๆที่ใช้ในสัญญา ครอบคลุมหัวข้อต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย

1) ผู้ว่าจ้าง (ผู้รับบริการ)
2) ผู้รับจ้าง (บริษัทจัดการพลังงาน)
3) เงินลงทุนของโครงการ
4) การใช้พลังงานฐาน
5) มาตรการหรือโครงการอนุรักษ์
พลังงาน
6) ผลประหยัดจากโครงการ
     7) การตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัดพลังงาน

- ต้องระบุเงื่อนไขสำคัญในสัญญาแต่ละรูปแบบแบ่งออกเป็น 3 กรณี ดังนี้

·          กรณีที่เป็นสัญญารูปแบบการรับประกันผลประหยัด (Guaranteed Saving)

จะต้องมีการกำหนดเงื่อนไขสำคัญในสัญญา ดังนี้

            - ต้องกำหนดเงื่อนไขการรับประกันผลประหยัดอย่างชัดเจน และระบุจำนวนเงินผลประหยัดพลังงานที่รับประกัน โดยอาจระบุเป็นตัวเลขหรือกำหนดเป็นสูตรคำนวณที่ชัดเจน

- ต้องกำหนดเงื่อนไขและวิธีการชำระเงิน
ชดเชยให้แก่ผู้รับบริการในกรณีที่ผลประหยัดต่ำกว่าข้อตกลงในสัญญา

·         กรณีที่เป็นสัญญารูปแบบแบ่งปันผล

ประหยัด (Shared Saving) จะต้องมีการกำหนดเงื่อนไขสำคัญในสัญญา ดังนี้

- ต้องกำหนดเงื่อนไขการแบ่งปันผลตอบ
แทนจากการดำเนินโครงการอย่างชัดเจน โดยระบุเป็นตัวเลขหรือกำหนดเป็นสูตรคำนวณที่ชัดเจน
- ต้องกำหนดเงื่อนไขและวิธีการชดเชยให้แก่
ผู้รับบริการในกรณีที่ผลตอบแทนของโครงการต่ำกว่าข้อตกลงในสัญญา

         - ต้องแสดงรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินการโครงการ

นอกจากนี้ ในสัญญาทั้งรูปแบบรับประกันผล

ประหยัด (Guaranteed Saving)และแบ่งปันผลประหยัด (Shared Saving)หากมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินหรือสูตรคำนวณจำนวนเงินการประกันในภายหลัง จะต้องมีหนังสือแจ้งต่อคู่สัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร โดยต้องได้รับความยินยอมจากคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายและจัดทำเป็นข้อตกลงแนบท้ายเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา รวมถึงในสัญญาต้องมีการตกลงด้านการเดินเครื่องจักรและบำรุงรักษา (Operation and Maintenance) ตามระยะเวลาการรับประกัน

·                   กรณีที่เป็นสัญญารูปแบบอื่นๆ เช่น การประกันค่าพลังงาน (Guaranteed Rebate/ Chauffage) จะต้องมีการกำหนดเงื่อนไขสำคัญในสัญญา ดังนี้

- หากเป็นสัญญาพลังงานรูปแบบการประกันค่าพลังงาน ต้องกำหนดปริมาณขั้นต่ำ คุณสมบัติขั้นต่ำ และราคาของพลังงาน ที่บริษัทจัดการพลังงานรับประกันการผลิตพลังงานราคาตามที่ตกลงให้สถานประกอบการ

- ต้องกำหนดเงื่อนไขและวิธีการชดเชยให้แก่ผู้รับบริการในกรณีที่ปริมาณ คุณสมบัติ และราคาพลังงาน หรือต้นทุนสาธารณูปโภคไม่เป็นไปตามข้อตกลงในสัญญา

 
 

4.4.6 ต้องแสดงหน้าที่ความรับผิดชอบของบริษัทจัดการพลังงาน และหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้รับบริการในแต่ละขั้นตอนของการดำเนินงาน

4.4.7 ต้องจัดทำแผนวิธีการตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัดพลังงาน (Measurement and Verification Plan: M&V Plan) แนบท้ายเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาพลังงาน

4.4.8 ความรับผิดชอบของบริษัทจัดการพลังงานในการรับประกันผลประหยัดของโครงการต้องครอบคลุมความเสี่ยงทางเทคนิค ได้แก่ การประเมินการใช้พลังงาน, การวิเคราะห์และออกแบบด้านวิศวกรรม, การคัดเลือกชนิดและขนาดของเทคโนโลยี, การบริหารโครงการ และประสิทธิภาพของเครื่องจักร/อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ตลอดระยะเวลาการรับประกัน

 

4.5 สำเนารายงานการตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัด (Measurement and Verification: M&V) โดยต้องมีการลงนามยอมรับผลการตรวจวัดฯ จากสถานประกอบการ

 

บริษัทฯ จะต้องมีคุณสมบัติมีความสามารถในการออกแบบ และดำเนินการ ในกระบวนการตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัดพลังงาน หรือ M&V ที่ได้มาตรฐานที่ชัดเจนและสามารถทำให้เป็นที่ยอมรับได้ระหว่างคู่สัญญา โดยมีรายละเอียด ดังนี้

4.5.1 จัดทำข้อตกลงการตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัดโดยแนบท้ายสัญญาพลังงานเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา

4.5.2 แสดงข้อมูลพลังงาน รายละเอียดมาตรการและจัดทำ M&V Plan ของสถานประกอบการในรายงานการตรวจวัดฯ

4.5.3 แสดงวิธีการตรวจวัดฯ และเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดฯ ที่ได้มาตรฐานสากล

4.5.4 ตรวจวัดและวิเคราะห์การใช้พลังงานก่อนปรับปรุงและหลังปรับปรุง

4.5.5 จัดทำรายงานการตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัด พร้อมกับรับรองรายงานการตรวจวัดและพิสูจน์ผลการใช้พลังงาน

 

4.6 สำเนารายงาน/ข้อมูลการติดตามผลภายหลังการติดตั้งอุปกรณ์หรือระบบของโครงการอนุรักษ์พลังงานที่ดำเนินการ

 
แสดงเอกสารหลักฐานการติดตามผล ระหว่างการเดินเครื่อง และการบำรุงรักษาให้กับสถานประกอบการ (Operation and Maintenance) ตามข้อตกลงของสัญญาพลังงานที่ระบุไว้ เช่น ระยะเวลาทุก 3 เดือน หรือ 6 เดือน หรือ 1 ปี เป็นต้น
 

หมายเหตุ : สถานประกอบการ หมายถึง โรงงานอุตสาหกรรม หรือ อาคารธุรกิจ เช่น โรงแรม สถานพยาบาล ห้างสรรพสินค้า สถานศึกษา อาคารสำนักงาน เป็นต้น หรือ อาคารของหน่วยงานราชการ ซึ่งสถานประกอบการในที่นี้ไม่รวมถึงการเป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานของภาครัฐ โดยสถาบันพลังงานฯ จะไม่นับเป็นผลการดำเนินงานในรูปแบบ ESCO

 

3. ขั้นตอนในการขื่นขอขึ้นทะเบียนเป็นบริษัทจัดการพลังงาน มีรายละเอียดดังนี้

1) บริษัทที่ประสงค์ขอรับรองการเป็นบริษัทจัดการพลังงานจะต้องทำแบบคัดกรองคุณสมบัติ

การดำเนินธุรกิจบริษัทจัดการพลังงานเบื้องต้น หากทำถูกครบตามเกณฑ์ที่กำหนดระบบจะเข้าสู่การสมัครสมาชิกประเภทผู้ให้บริการ

2) สมัครสมาชิกประเภทผู้ให้บริการใน www.thaiesco.org โดยทำการกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน หลังจากเมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วนและได้ส่งข้อมูลแล้ว ระบบจะแสดงผลให้พิมพ์ข้อมูลดังกล่าว เพื่อนำมาเป็นเอกสารแนบเพื่อยื่นขึ้นทะเบียนต่อไป

3) เตรียมเอกสารและหลักฐานในการยื่นขอให้ครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในเอกสารหลักฐานที่ใช้ใน

ในการขึ้นทะเบียน ESCO พร้อมแนบแบบสอบถามข้อมูลเบื้องต้น
4) บริษัทนำเอกสารมายื่นเพื่อพิจารณาที่สถาบันพลังงานฯ
5) สถาบันพลังงานฯ ตรวจสอบความถูกต้องและความชัดเจนของเอกสารและการดำเนินงาน
ของบริษัท

6) หากเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน สถาบันพลังงานฯ จะนำเสนอเอกสารหลักฐานต่อ

คณะทำงานโครงการฯ (แต่ในกรณีที่มีข้อสงสัยเพิ่มเติมจากคณะทำงานโครงการฯ จะให้มีการส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม และนัดประชุมเพื่อชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติม พร้อมกับตรวจสอบสถานที่จริง)

7) สถาบันพลังงานฯ แจ้งผลการยื่นขอขึ้นทะเบียนเป็นบริษัทจัดการพลังงาน

8) ทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านอนุรักษ์พลังงานโดยใช้ระบบ ESCO ระหว่าง

บริษัทผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับสถาบันพลังงานฯ

9) สถาบันพลังงานฯ ออกหนังสือรับรองการเป็นบริษัทจัดการพลังงานให้หลังจากที่มีการกรอกข้อมูลของท่านในเว็บไซต์ (www.thaiesco.org)

10) สถาบันพลังงานฯ แจ้งผลการอนุมัติให้กับผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นบริษัทจัดการพลังงาน

4. อายุและเงื่อนไขการต่ออายุใบรับรองการเป็นบริษัทจัดการพลังงาน

            ใบรับรองการเป็นบริษัทจัดการพลังงานมีอายุ 1 ปี นับจากวันที่ได้รับการพิจารณาและอนุมัติให้เป็นบริษัทจัดการพลังงาน และสิ้นสุดในเดือนธันวาคมของทุกปี โดยมีเงื่อนไขสำหรับการต่ออายุ ดังนี้

5.1 ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรมภายใต้โครงการฯ เป็นอย่างดี อาทิ Thailand ESCO Fair กิจกรรม ESCO Forum สำหรับผู้บริหาร กิจกรรม ESCO Business Matching การอบรม/เยี่ยมชม และการประชุมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทจัดการพลังงาน เป็นต้น รวมถึงมีการแจ้งความคืบหน้าและส่งข้อมูลกลับมายังสถาบันพลังงานฯ เกี่ยวกับผลการดำเนินโครงการอนุรักษ์พลังงานที่ดำเนินการให้แก่สถานประกอบการ หลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมภายใต้โครงการฯ ทุกครั้งที่มีการติดตามผลจากสถาบันพลังงานฯ

5.2 แจ้งผลการดำเนินงานของ ESCO ที่ดำเนินการเองเป็นข้อมูลรายไตรมาสหรือรายปีทั้งในรูปแบบโครงการ ESCO คือ โครงการที่มีการทำสัญญาพลังงาน (Energy Performance Contract: EPC) และไม่ใช่โครงการรูปแบบ ESCO คือ โครงการที่ไม่ได้ทำสัญญาพลังงาน (Non EPC) โดยขึ้นอยู่กับการติดตามข้อมูลของสถาบันพลังงานฯ เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับการต่ออายุใบรับรองการเป็นบริษัทจัดการพลังงานรายปี

 

ทั้งนี้ หากบริษัทจัดการพลังงานที่ไม่ดำเนินการส่งข้อมูลและไม่ได้ให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการตามข้อที่ 5.1 และ 5.2 สถาบันพลังงานฯ จะดำเนินการตามเงื่อนไขและข้อกำหนดในการกำกับดูแลและควบคุมคุณภาพของบริษัทจัดการพลังงานดังตารางที่ 2

 
ตารางที่ 2 : เงื่อนไขและข้อกำหนดในการกำกับดูแลและควบคุมคุณภาพ
ที่
เงื่อนไข
ข้อกำหนดในการกำกับดูแล
และควบคุมคุณภาพ
หมายเหตุ
1
ESCO ที่เข้าร่วมกิจกรรมแต่ไม่ส่งข้อมูลภายหลังจบกิจกรรมนั้นๆ

สถาบันพลังงานฯ จะสงวนสิทธิ์ในการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งต่อไปตามความเหมาะสมหรือเป็นไปตามมติของคณะทำงานโครงการฯ

ESCO ที่มีการแจ้งความประสงค์เข้าร่วมกิจกรรม แต่ไม่สามารถเข้าร่วมได้ ต้องมีการแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 5 วันทำการ และจะมีการแจ้งให้สมาคมฯ ได้รับทราบต่อไป

2

ESCO ที่ไม่ดำเนินการส่งข้อมูลผลการดำเนินงานต่อเนื่องเป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี(นับจากวันที่ขึ้นทะเบียนเป็น ESCO) แต่ได้รับการแจ้งกลับมายังสถาบันพลังงานฯ ว่าอยู่ระหว่างการจัดทำข้อมูล

ESCO ที่เป็นไปตามเงื่อนไขที่ 2 จะมีการแสดงผลสถานะของ ESCO รายนั้นๆ ในเว็บไซต์ ว่า รอต่อทะเบียน และไม่สามารถดูข้อมูลบริษัทนั้นๆ ผ่านเว็บไซต์ thaiesco.org ได้  

ESCO รายใดต้องการต่ออายุใบรับรองการเป็นบริษัทจัดการพลังงาน ให้มีการส่งข้อมูลย้อนหลังนับตั้งแต่ปีที่ขาดการส่ง

3

ESCO ที่มีสถานะไม่ต่อทะเบียนจะพิจารณาตามเงื่อนไขที่ 3* แบ่งเป็น 4 กรณี คือ

- กรณีที่ 1 ESCO ที่ไม่ดำเนินการส่งข้อมูลผลการดำเนินงานใดๆ มาเป็นเวลา 3 ปีขึ้นไป (นับจากวันที่ขึ้นทะเบียนเป็น ESCO)

- กรณีที่ 2 ESCO ไม่มีผลการดำเนินงานรูปแบบ ESCO (Non EPC) ต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปีขึ้นไป

- กรณีที่ 3 ESCO ที่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจรูปแบบ ESCO มาเป็นเวลา 3 ปีขึ้นไป เช่น ดำเนินธุรกิจในลักษณะที่ปรึกษาด้านพลังงานทั่วไป หรือจำหน่ายอุปกรณ์ประหยัดพลังงานเพียงอย่างเดียว เป็นต้น (นับจากวันที่ขึ้นทะเบียนเป็น ESCO)

- กรณีที่ 4 ESCO ที่มีสถานะ”ไม่ต่อทะเบียน” คือ ESCO ที่ถูกระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานของทางราชการ หรือไม่เป็นผู้ที่ได้รับผลของการสั่งให้นิติบุคคลหรือบุคคลอื่น เป็นผู้ทิ้งงาน และผลการลงโทษ ผู้ทิ้งงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (Black list)

ESCO ที่มีสถานะ “ไม่ต่อทะเบียน” จะมีการพิจารณาถอดถอนชื่อออกจากการรับรองเป็นบริษัทจัดการพลังงานของสถาบันพลังงานฯ และไม่สามารถดูข้อมูลบริษัทใน www.thaiesco.org (เงื่อนไขดังกล่าวมีผลย้อนหลัง 3 ปี โดยขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะทำงานโครงการฯ ถือเป็นที่สิ้นสุด)

ESCO รายใดที่ถูกถอดถอน โดยภายหลังต้องการต่ออายุใบรับรองการเป็นบริษัทจัดการพลังงาน จะต้องดำเนินการยื่นขอขึ้นทะเบียนกับสถาบันพลังงานฯ ใหม่ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้

 
 
หมายเหตุ : สถานะการเป็นบริษัทจัดการพลังงานจะแสดงผลบนเว็บไซต์ thaiesco.org ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 สถานะ คือ ต่อทะเบียน รอต่อทะเบียน ไม่ต่อทะเบียน 

5. กิจกรรมและสิทธิประโยชน์ในการขึ้นทะเบียนเป็นบริษัทจัดการพลังงาน

          5.1 การประชุมเครือข่ายบริษัทจัดการพลังงานกับสถาบันพลังงานฯ

          5.2 การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการส่งเสริมธุรกิจบริษัทจัดการพลังงาน ที่ดำเนินการโดยสถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เช่น Thailand ESCO Fair, ESCO Forum สำหรับผู้บริหาร, ESCO Business Matching และกิจกรรมสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศ เครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันการเงิน กิจกรรมฝึกอบรมธุรกิจ ESCO เป็นต้น

          5.3 มีส่วนร่วมในการจัดสื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับธุรกิจ ESCO เช่น เอกสารเผยแพร่และจัดทำวีดีทัศน์โครงการที่ประสบความสำเร็จจากการใช้บริการ ESCO เป็นต้น

5.4 การขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐ ด้านงบประมาณสนับสนุนทางด้านการเงินโดยเฉพาะสำหรับธุรกิจ ESCO เช่น ESCO Fund, โครงการสนับสนุนการลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยน ปรับปรุง เครื่องจักร วัสดุ อุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน, โครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ, การยกเว้นสิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากร (Board of Investment: BOI) เป็นต้น โดยเงื่อนไขการสนับสนุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของภาครัฐ

          5.5 การขอรับการสนับสนุนจากสถาบันการเงิน ด้านงบประมาณสนับสนุนทางด้านการเงินโดยเฉพาะสำหรับธุรกิจ ESCO เช่น ธนาคารต่างๆ ที่มีโปรแกรมสินเชื่อด้านพลังงานหรือสินเชื่อด้านธุรกิจ ESCO เป็นต้น โดยเงื่อนไขการสนับสนุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสถาบันการเงินนั้นๆ

          5.6 การยื่นขอสมัครสมาชิกของสมาคมบริษัทจัดการพลังงานไทยสำหรับสมาชิกประเภทสามัญได้ โดยใช้ใบรับรองการเป็นบริษัทจัดการพลังงานเป็นหลักฐานในการสมัครสมาชิกดังกล่าว

 

ท่านสามารถ Download คู่มือสำหรับการขึ้นทะเบียนได้ที่นี่ Click