Thai ESCO ¸ØáԨºÃÔ¡ÒôéÒ¹¾Åѧ§Ò¹ (Energy Service Company: ESCO)

  • ประกาศผลการตรวจสอบรับรองมาตรฐานการดำเนินงานของ ESCO รายชื่อ ESCO ที่เข้าร่วมและผ่านการประเมินโครงการนำร่องฯ ประจำปี 2558 - 2559 และESCO ที่ได้รับใบรับรองการดำเนินงานของบริษัทจัดการพลังงานไทย (CoP Certificate)

  • Promotion of ESCO Business Project in Thailand "Overview og Energy Conservation Program of Thai Industries in the framework of ESCO" งาน "Thai-German Technology Conference Energy Efficiency industry"

  • คู่มือแนวทางการตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัด (M&V) แนวทางการตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัด สำหรับโครงการอนุรักษ์พลังงาน 12 มาตรการ

  • Success cases of ESCO สถานประกอบการจากภาครัฐและเอกชนที่ประสบความสำเร็จจากการใช้บริการ ESCO ที่ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ ESCO Project Awards จากงานสัมมนา Thailand ESCO Fair

  • สมาคมบริษัทจัดการพลังงานไทย สมาคมบริษัทจัดการพลังงานไทย ก่อตั้งเพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจ ESCO อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อก่อให้เกิการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกสมาคม และให้ความมั่นใจในประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ประกอบการที่จะได้รับจากการใช้บริการของ ESCO

  • แนวทางการจัดทำระบบรับรองการดำเนินงานของบริษัทจัดการพลังงานไทย (ESCO)

  • ¤é¹ËÒ¼ÙéãËéºÃÔ¡ÒÃ
    • »¯Ô·Ô¹¡Ô¨¡ÃÃÁ
  • à¢éÒÊÙèÃкºÊÁÒªÔ¡
  • µéͧ¡ÒÃÊÁѤÃÊÁÒªÔ¡ãËÁè!

    ÊÁÒ¢Ô¡à¡èÒÅ×ÁÃËÑʼèÒ¹

  •  

FAQ



 

ประเภทขององค์กรผู้ให้บริการด้านพลังงาน มีอะไรบ้าง?

 

ธุรกิจบริษัทจัดการพลังงาน ในประเทศไทยซึ่งดำเนินกิจการอยู่ในปัจจุบันนั้น ได้พัฒนาองค์กรมาจากหลากหลายประเภทซึ่งแต่ละบริษัทอาจมีความเชี่ยวชาญหรือมีอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถแบ่งประเภทอกได้ดังนี้

  1. บริษัทขนาดใหญ่ที่มีเทคโนโลยีและอุปกรณ์ทางด้านอนุรักษ์พลังงาน
    บริษัทเหล่านี้มีพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค และมีเทคโนโลยีและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงาน โดยจะเจาะกลุ่มโครงการที่มีขนาดใหญ่ และให้บริการครบทุกกระบวนการ ตั้งแต่การตรวจสอบการใช้พลังงานไปจนถึงการบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายหลังการติดตั้ง นอกจากนี้ยังบริการด้านการบริหารจัดการโครงการเช่นการจัดบุคลากรเพื่อปฏิบัติงาน ESCO ในกลุ่มนี้มีหลายบริษัทที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับธุรกิจอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องด้านพลังงาน โดยเฉพาะระบบปรับอากาศและอุปกรณ์ควบคุมภายในอาคาร และเครื่องทำความร้อน
  2. บริษัทที่เป็นตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ทางด้านพลังงาน
    บริษัทเหล่านี้เป็นตัวแทนจตำหน่ายอุปกรณ์ทางด้านพลังงานรวมถึงรับออกแบบติดตั้ง และบำรุงรักษาอุปกรณ์ แต่ไม่มีอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีเป็นของตนเอง มีเพียงความเชี่ยวชาญในระบบหรือเทคโนโลยีนั้น จนได้รับเป็นตัวแทนจำหน่าย ซึ่งอุปกรณ์ส่วนใหญ่ ได้แก่ ชุดควบคุมระบบต่าง ๆ ภายในอาคารระบบปรับอากาศและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบปรับอากาศ ระบบการจัดการแสงสว่าง ระบบการจัดอาคารอัตโนมัติ ระบบปรับแรงดันไฟฟ้า เป็นต้น
  3. บริษัทที่พัฒนามาจากองค์กรที่ปรึกษาด้านพลังงาน
    บริษัทเหล่านี้มีความรู้ความชำนาญด้านเทคโนโลยี และมีผู้เชี่ยวชาญในทุกด้าน ซึ่งก่อนหน้านั้นกลุ่มบ่ริษัทเหล่านี้ได้ดำเนินธุรกิจในรูปแบบของที่ปรึกษาด้านอนุรักษ์พลังงาน (RC-Registered Consultant) หรือบริษัทที่มีขนาดเล็กก็จะมีการรวมกลุ่มจัดสร้างทีมเพื่อให้บริการเชิงเทคนิคเช่นการตรวใจสอบการใช้พลังงาน การออกแบบโครงการ การจัดการและตรวจสอบโครงการ ส่วนการให้บริการด้านการบำรุงรักษาอุปกรณ์ มักว่าจ้างบริษัทอื่นเข้ามาดูแล
  4. บริษัทที่มาจากธุรกิจผลิตพลังงาน
    บริษัทเหล่านี้มาจากกลุ่มบริษัทพลังงานขนาดใหญ่ของประเทศ ซึ่งได้ทำงานทางด้านการอนุรักษ์พลังงาน มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และมีความพร้อมในด้านต่าง ๆ จึงได้จัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาเพื่อให้บ่ริการด้านต่าง ๆ ที่รวมไปถึงการตรวจสอบการใช้พลังฝงาน การจัดการด้านการเงิน การติดตั้งและการบำรุง่รักษาเครื่องมือ


 
<<Back